ทำความรู้จัก “กลูคากอน (Glucagon)” ฮอร์โมนสำหรับคนอยากหุ่นดี

ทำความรู้จัก “กลูคากอน (Glucagon)” ฮอร์โมนสำหรับคนอยากหุ่นดี
หัวข้อที่น่าสนใจ

รู้หรือไม่ว่าในร่างกายของเรานั้นมีฮอร์โมนที่สำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ฮอร์โมน “กลูคากอน” หลายคนอาจไม่ค่อยได้ยินหรือเป็นที่คุ้นหูมากนัก แต่แท้ที่จริงแล้วมีความสำคัญต่อร่างกายของเราอยู่มากมายไม่แพ้ฮอร์โมนชนิดอื่นๆเลยค่ะ ดังนั้นวันนี้เลยจะพาไปทำความรู้จักกับ Glucagon ฮอร์โมนสำหรับคนอยากหุ่นดีกันค่ะ

Glucagon hormone
Glucagon hormone

ฮอร์โมนกลูคากอน คืออะไร?

เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ โดยผลิตขึ้นมาจากเซลล์ชนิดหนึ่งในตับอ่อนที่ชื่อว่า Alpha cells ซึ่งฮอร์โมนกลูคากอนนั้นจะมีหน้าที่เพิ่มระดับน้ำตาลกลูโคสเข้าไปในกระแสเลือด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน Glucagon อกมาเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยจะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของตับให้เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตที่สะสมเอาไว้ในรูปแบบของ ไกลโคเจน ให้เป็น กลูโคส เพื่อนำมาไหลเวียนผ่านกระแสโลหิตในร่างกาย และยังช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน และกรดไขมันเพื่อเปลี่ยนให้เป็นกลูโคสให้มากขึ้นในช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการกลูโคสเพิ่มอีกด้วย

ฮอร์โมนกลูคากอน VS ฮอร์โมนอินซูลิน

แน่นอนว่าการทำงานของ Glucagon hormone ที่เข้าไปเพิ่มระดับน้ำตาลกลูโคสในร่างกายของคนเรานั้น ทำให้สังเกตได้ว่ามีการทำงานตรงกันข้ามกับฮอร์โมนอินซูลินที่เข้าไปลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นทั้งฮอร์โมนกลูคากอน และฮอร์โมนอินซูลินจึงทำหน้าที่คอยเพิ่ม และลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะสมดุลนั่นเองค่ะ

Glucagon hormone
Glucagon hormone

สิ่งที่เป็นอันตรายจากภาวะฮอร์โมนกลูคากอนต่ำ

หากในร่างกายอยู่ในภาวะ Glucagon hormone ต่ำ อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งปกติภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจจะเกิดขึ้นได้ในตอนเช้าที่ลุกขึ้นจากเตียงเร็วๆ แล้วตาลาย หน้ามืด แต่เป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น และจะมีอาการที่ดีขึ้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป แต่หากอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมากเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย ดังนี้

  1. หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน
  2. เหงื่อออกง่าย
  3. กระวนกระวาย มือสั่น อยู่ไม่สุข
  4. หัวใจเต้นแรง รู้สึกหวิวๆ เหมือนจะเป็นลม
  5. ตัวเย็น มือเย็น รู้สึกชาๆ ที่ปาก และใบหน้า
  6. ง่วงซึม อ่อนเพลีย ไม่ค่อยตอบสนอง ไม่ค่อยมีสติ พูดจาไม่รู้เรื่อง
  7. อาจชัก หรือหมดสติได้ หากถึงโรงพยาบาลช้า อาจเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

และเมื่อพบว่าร่างกายอยู่ในภาวะน้ำตาลต่ำเกินไป อาจได้รับการฉีด Glucagon hormone เพิ่มในระหว่างการรักษา แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์ผู้ให้การรักษาเช่นเดียวกัน หากใครที่มีอาการเหล่านี้แนะนำว่าให้ไปพบและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ฮอร์โมนกลูคากอน ส่งผลอย่างไรกับการออกกำลังกาย

อย่างที่บอกไปเลยค่ะว่า ถ้าเราอยากหุ่นดี ต้องรู้จัก Glucagon hormone เพราะหากเราออกกำลังกายในช่วงที่ฮอร์โมนต่ำทำงานเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำตากลูโคสในร่างกายด้วยการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตที่สะสมเอาไว้ในรูปแบบของ ไกลโคเจน ให้เป็น กลูโคส การออกกำลังกายก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธาพในการเผาผลาญพลังงานในร่างกายได้มากขึ้นไปด้วยนั่นเอง แถมร่างกายยังไม่อ่อนเพลียเพราะอยู่ในระหว่างการเพิ่มระดับน้ำตาลกลูโคสในร่างกายด้วยเช่นกัน เพราะ Glucagon hormone จากตับอ่อนจะหลั่งออกมาสูงสุดในช่วง 90 นาทีแรกของการออกกำลังกาย จากนั้นจะค่อยๆ ลดปริมานลง

Glucagon hormone
Glucagon hormone

ดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานได้สูงสุก จึงไม่ควรเกิน 90 นาที หรือ 1.30 ชั่วโมงนั่นเอง โดยการออกกำลังกายเพื่อการเผาผลาญพลังงานที่แนะนำ ได้แก่ การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น วิ่ง ปั่นจักรวาน แอโรบิค ว่ายน้ำ และการเล่นกีฬาประเภทต่างๆ หรือจะเป็นการออกกำลังกายแบบ HIIT หรือ High Intensity Interval Training คือการออกกำลังกายแบบเข้มข้นสูง เพื่อให้ร่างกายดึงเอาคาร์โบไฮเดรตออกมาเป็นพลังงานระหว่างออกกำลังกาย และเริ่มดึงเอาไขมันมาใช้ทดแทน

ซึ่งสามารถเกิดภาวะ After Burn หรือร่างกายเผาผลาญพลังงานในร่างกายอย่างต่อเนื่องแม้จะหยุดออกกำลังกายไปแล้วก็ตาม แต่เป็นการออกกำลังที่มีความทรมานถึงขั้นไม่แนะนำให้ทำเกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือแพทย์ประจำตัวก่อนเริ่มออกกำลังกายในลักษณะนี้นะคะ  อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ workoutkan

sponsor by www.essexinfo.net