ผักและสมุนไพร อย่างที่ทราบกันดีว่า ‘การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ’ แต่หน้าหนาวอย่างนี้ ชาวภูมิแพ้จะหลีกเลี่ยงยังไงก็ไม่พ้น เพราะอยู่ในที่อากาศเย็นหน่อย ก็เตรียมทิชชู่รอ ไหนจะเริ่มจาม คัดจมูกหรือน้ำตาไหลอีก นั่นแปลว่าเตรียมตัวรับแรงกระแทกจากลมหนาวหรือสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปได้เลย
ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงสิ้นปีหลายคนคงมีแพลนจะเดินทางไปพักผ่อนหย่อนใจ แต่ถ้าเกิดต้องมาขัดใจเพราะอาการภูมิกำเริบแล้วล่ะก็ ไม่ดีแน่ ๆ วันนี้ เราชาว Workoutkan จะมาแนะนำ 9 ผักและสมุนไพร ใกล้ตัวที่ได้ง่ายและเป็นพืชที่ปลูกในบ้านได้ เพื่อบรรเทาอาการของเหล่าชาวภูมิแพ้ จะมีอะไรบ้าง ?
รู้จักทฤษฎีของศาสตร์การแพทย์เรื่องของการปรับธาตุในร่างกาย
สมุนไพร คือพืชที่ใช้ทำเป็นยารักษาโรค และสามารถหาได้ตามพื้นบ้าน ซึ่งพืชสมุนไพรส่วนใหญ่จะสามารถหาได้ตามป่าเขาหรือในชนบท รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษที่ได้สังเกตว่าพืชในนำมาใช้บำบัดโรคได้ มีสรรพคุณอย่างไร จากการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ และการทดลองแบบพื้นบ้านที่ได้ทั้งข้อดีและข้อผิดพลาด ซึ่ง “สมุนไพรพื้นบ้าน” ถือเป็น “สมุนไพรแก้หนาว” ที่มีรสเปรี้ยว รสขม และรสเผ็ดร้อน จะช่วยเสริมเกราะป้องกันอาการเจ็บป่วยช่วงฤดูหนาว หรือช่วงที่เราเดินทางไปพบกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นได้เป็นอย่างดี
เนื่องจาก “สมุนไพรรสเปรี้ยว” จะช่วยขับเสมหะ บรรเทาอาการไอ ทำให้ชุ่มคอ “สมุนไพรรสขม” ช่วยแก้ไข้ ต้านการอักเสบ ได้แก่ มะแว้งต้น มะแว้งเครือ มะเขือพวง ขี้เหล็ก และ “สมุนไพรรสเผ็ดร้อน” จะช่วยเพิ่มความอบอุ่นของร่างกาย บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวก และบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
เมื่อสภาพภูมิอากาศลดต่ำลง มักจะส่งผลให้ธาตุน้ำในร่างกายของเราเกิดความแปรปรวนหรือเสียสมดุลได้ง่าย ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ภูมิแพ้ หรือร่างกายไม่สามารถปรับตัวตามสภาพอากาศได้ทัน จะป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับ “ธาตุน้ำ” โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ แล้วจะมีผักและสมุนไพรชนิดใดบ้างที่ช่วยแก้หนาวได้บ้าง
กะเพรา
มาที่ผักและสมุนไพรชนิดแรกที่เราจะแนะนำ คือ กะเพรา ผักสวนครัวกลิ่นหอม ที่มีรสเผ็ดร้อนในตัว มีกลิ่นฉุนที่ดมแล้วโล่งไปทั้งจมูกและคอ โดยผักฉุนชนิดนี้จะหาง่าย ปลูกง่าย ราคาถูก สามารถทำอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะผัดกะเพรา ต้มยำใส่ใบกะเพรา หรือแม้แต่ไข่เจียวร้อน ๆ ก็ยังสามารถใส่ใบกะเพราลงไปได้ และบอกไว้เลยว่าชาวภูมิแพ้ต้องชอบแน่นอน เพราะเวลาแม่ผัดให้กินก็จามจนโล่งเลยทีเดียว
สรรพคุณ
- – ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
- – ด้วยรสฉุนเเละร้อนช่วยเรื่องขับลมแก้ซาง แก้ท้องอืด ท้องขึ้น จุกเสียด ปวดท้องได้เป็นอย่างดี และช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย
- – ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน
- – ช่วยขับเสมหะ ขับเหงื่อ ลดการอักเสบของผิวหนัง
ผักกระเจี๊ยบ
ผักกระเจี๊ยบหรือส่วนใบของกระเจี๊ยบแดงมีรสเปรี้ยวที่พอเหมาะต่อการปรับสมดุลธาตุทั้งสี่ในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตได้เช่นกัน จึงช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกายได้ ซึ่งในใบอ่อนของมันจะมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา สามารถทำได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นแกงส้ม หรือเมนูผัดกับไข่ อีกเมนูที่อยากแนะนำคือปลานึ่งใบกระเจี๊ยบอันนี้อร่อยมาก
สรรพคุณ
- – ใบกระเจี๊ยบช่วยแก้โรคปากนกกระจอก
- – ใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น นำมาประคบเพื่อลดอาการอักเสบปวดบวมได้ และช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นไม่แตกแห้ง
พริก
พริก คือ ผักและสมุนไพร ที่ทุกบ้านต้องมี! ไม่ว่าจะเป็นคนที่ชื่นชอบการกินเผ็ดมากหรือเผ็ดน้อย ยังไงก็ต้องมี ถือว่าเป็นผักสวนครัวที่ขาดไม่ได้ ซึ่งพริกนั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ มีลักษณะทรงรี ปลายเรียว มีตั้งแต่สีเขียวไปจนถึงสีแดง ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยสิ่งที่ทำให้พริกมีรสชาติที่เผ็ดร้อน โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ก็คือสารแคปไซซิน (Capsaicin) ที่อยู่ภายในพริกนั่นเอง
สรรพคุณ
- – ช่วยทำให้อารมณ์ดี เพราะร่างกายสร้างสาร Endorphin (สารแห่งความสุข)
- – สารแคปไซซิน (Capsaicin) ช่วยให้เกิดอาการตื่นตัวของร่างกาย แถมยังมีฤทธิ์ที่สามารถย่อยอาการท้องผูกได้อีกด้วย
- – ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และความเผ็ดของพริกมีส่วนช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งได้
- – ช่วยป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ในบริเวณจมูก ลำคอ ปอด เยื่อบุผนังช่องปาก
พริกไทย
พริกไทย เป็นผักและสมุนไพรที่มีผลเป็นพวงเม็ดขนาดเล็ก จัดเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา และเป็นราชาแห่งเครื่องเทศที่มีรสชาติเผ็ดร้อน เนื่องจากพริกไทยมีปริมาณน้ำในแต่ละเม็ดน้อยมาก จึงไม่ค่อยขึ้นรา ซึ่งวิธีการเก็บรักษาก็ง่าย ๆ เพียงแค่เก็บไว้ในโหลแก้วให้มิดชิด
สรรพคุณ
- – เมล็ดพริกไทยมีสารฟีนอลิก (Phenolic compounds) และสารพิเพอรีน (Piperine) ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
- – ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายและเสริมภูมิต้านทานไปด้วยในตัว
- – ช่วยบรรเทาอาการและแก้อาการไอ หอบหืด สะอึก
- – แก้ตะขาบกัด ด้วยการใช้ผงพริกไทยโรยบริเวณแผลที่ถูกกัด
ถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์ แต่ถ้าทานก็มีโทษนะ สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคตา มีอาการเจ็บคอก็ไม่ควรรับประทานพริกไทย รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารก็ไม่ควรรับประทานมากเกินไปอาจจะทำให้อาการของริดสีดวงทวารกำเริบได้
ข่า : ผักและสมุนไพร
ข่า พืชสมุนไพรที่ถูกจัดอยู่ในวงศ์เดียวกับขิง (Family Zingeberaceae) แต่อยู่คนละสกุล (genus) ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ในการประกอบอาหารไทยหลากหลายเมนูมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่เห็นได้ชัดคือเมนู ต้มข่าไก่ หรือต้มยำ ก็เพื่อดับกลิ่นคาว ชูรสอาหาร และให้กลิ่นหอม อีกทั้งข่ายังเป็นส่วนประกอบสำคัญในพริกแกงอีกด้วย
สรรพคุณ
- – ช่วยย่อยอาหาร แก้บิด แก้ปวดท้องจุกเสียด
- – เป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อได้
- – ต้านเชื้อวัณโรค ต้านภูมิแพ้ และต้านอนุมูลอิสระ
กระชาย
กระชาย เป็นผักและสมุนไพรพื้นบ้านที่สามารถนำหลายส่วนมีใช้ประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นเหง้า ใบ และราก ในช่วงสมัยโบราณคนไทยนิยมนำมาต้มดื่มเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย ส่วนรากและใบ ก็จะนำไปปรุงอาหารประเภทแกง เพราะช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี
สรรพคุณ
- – รากของกระชาย ช่วยแก้ร้อนใน บำรุงธาตุ เพิ่มความกระปรี้กระเปร่าให้ร่างกาย และถอนพิษต่าง ๆ
- – น้ำกระชาย มีสรรพคุณในการขับลม และปรุงเป็นน้ำมันหอมระเหย
- – ลดการบีบตัวและอักเสบของลำไส้ ซึ่งจะช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดได้
สะเดา
สะเดา เป็นผักและสมุนไพรที่สามารถปลูกได้ง่ายและทนทานต่อสภาพแวดล้อมมากชนิดหนึ่ง รสชาติโดยรวมของผักชนิดนี้จะขมนำเขียว แต่เชื่อเถอะค่ะว่า ‘หวานเป็นลม ขมเป็นยา’ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ
สรรพคุณ
- – เนื่องจากสะเดามีแคลเซียมสูง จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
- – ช่วยย่อยอาหาร และขับน้ำดีเข้าสู่ลำไส้มากขึ้น
- – แก้ร้อนใน รักษาแผลในช่องปาก
อย่างไรก็ตามต้องระวังเรื่องของปริมาณในการรับประทาน เช่น ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรทาน เพราะสะเดาเป็นพืชที่มีโพรแทสเซียมสูง ผู้ที่มีปัญหาโรคความดันโลหิตต่ำ และหญิงมีครรภ์หรือให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการทานสะเดา เพราะจะทำให้ไม่มีน้ำนม
ยอดมะขาม
ยอดมะขามหรือใบมะขามอ่อน เป็นผักและสมุนไพรที่อยากแนะนำอย่างมาก ซึ่งน้อยคนในกรุงเทพฯ จะรู้จักว่าสามารถกินได้ ซึ่งเจ้ายอดมะขามนั้นจะมีรสชาติเปรี้ยวที่พอเหมาะ ไม่เปรี้ยวโดดเหมือนมะนาว สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากชนิด ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแกงส้มรสจัดจ้าน นอกจากนี้เมนูยำก็สามารถทำได้ เพื่อเพิ่มความกลมกล่อมและสมดุลความเปรี้ยวได้ดี แอดวานซ์ขึ้นมาหน่อยก็เป็นแกงกะทิใบมะขามอ่อนก็ย่อมได้ ส่วนรสชาติก็จะคล้ายแกงข่าไก่เพราะมีความเปรี้ยวผสมผสานกันอย่างลงตัว
สรรพคุณ
- – มีสารแทนนิน (Tannin) จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบในร่างกาย
- – ใบมะขามอ่อน ใบมะขามสด มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ สามารถออกฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ
- – ช่วยขับเสมหะ ลดอาการไอ
เป็นอย่างไรกันบ้างกับผักและสมุนไพรแก้หนาวทั้ง 8 ชนิดที่ชาว Workoutkan นำมาฝาก เพื่อน ๆ ชอบหรือไม่ชอบชนิดไหนบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้ทำลิสต์เครื่องดื่มแก้หนาวไว้ เพื่อต้อนรับลมหนาวเลย ส่วนตัวเราไม่ชอบสะเดาเลยค่ะ เพราะว่ามันขม ถึงแม้ว่ามันคือยา หากใครที่กินเป็นบอกได้เลยว่า มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก แต่อย่าลืมว่าการที่เราจะนำผักเหล่านี้ไปประกอบอาหารต้องคำนึงถึงโภชนาการสารอาหารอื่น ๆ ด้วยนะคะ ถือว่าสุขภาพดีสองต่อเลย
- 5 สัญญาณเตือน ร่างกายขาดโปรตีน ตัวการลดน้ำหนักไม่ได้ผล - December 2, 2024
- แนะนำ 5 อาหารช่วยย่อย ทำงานได้ดีขึ้น มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร - November 25, 2024
- แนะนำ 6 อาหารกระตุ้นการเผาผลาญได้ดี ที่ได้รับความนิยม ในหมู่คนรักสุขภาพ - November 21, 2024