ของอร่อยก็ใส่โซเดียมกันเยอะจนขนาดนั้น ชีวิตนี้เราอยู่เพื่อกินไม่ใช่กินเพื่ออยู่ ! ไหนจะส้มตำเอย หมูกระทะเอย ยำเอย ทุกอย่างก็ล้วนมี sodium กันทั้งนั้น หลายคนก็เลยอาจจะปล่อยจอยไปกับอาหารรสจัด เพราะมันก็ช่างอร่อยซะเหลือเกินนี่เนอะ! แต่จะมาปล่อยให้ตัวเองดูบวมขึ้นแบบนี้ก็ไม่ไหวนะคะ วันนี้เราเลยจะมาบอกวิธีลดบวมโซเดียม พร้อมทั้งแนะนำอาหารที่ควรเลี่ยงมาฝากค่ะ ว่าแต่จะมีอะไรบ้างที่จะช่วยขับ sodium ตัวร้ายนี้ไปได้ ไปดูพร้อม ๆ กันเล้ยยย!
สาเหตุของการบวมโซเดียม
1. การบริโภคมากจนเกินไป
การบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีปริมาณ sodium สูงเกินไปอาจทำให้ระดับ sodium ในร่างกายสูงขึ้น และทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำเก็บไว้ใต้ผิวหนังมากไป จึงเกิดอาการบวมน้ำได้ ตัวอย่างเช่น การบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยเกลือหรืออาหารที่ผ่านกระบวนการใส่เกลือหรือเครื่องปรุงมาก ๆ เช่น อาหารจานด่วน อาหารตามสั่ง อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มอื่น ๆ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
2. การดื่มน้ำน้อยเกินไป
เพราะว่าการที่เรานั้นดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้ร่างกายของเรานั้นขาดน้ำ และทำให้ sodium คงอยู่ในระดับสูงจึงก่อให้เกิดอาการบวมตามมาได้ และยังอาจเกิดขึ้นในบางกรณี เช่น ในการออกกำลังกายหนักโดยไม่ได้ดื่มน้ำเพียงพอหรือในสภาวะที่อากาศร้อนและชื้น ทำให้เกิดการเสียเหงื่อและขาดน้ำได้นั่นเอง
3. การใช้ยาบางชนิด
บางยาที่ใช้ในการรักษาโรคบางประเภทอาจมีผลกระทบต่อระดับโซเดียมในร่างกาย อย่างเช่น ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของ sodium hydroxide หรือยาต้าน aldosterone ซึ่งการใช้ยาเหล่านี้ในปริมาณที่เกินขนาดหรือในระยะเวลาที่ยาวนานอาจทำให้เกิดการบวมในร่างกายได้
4. สภาวะทางสุขภาพอื่นๆ
มีสภาวะทางสุขภาพบางอย่างที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการบวม เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจ ภาวะตับเลือดและโรคอื่น ๆ ซึ่งสามารถกระทบต่อการปรับสมดุลของ sodium ในร่างกายได้
อาหารตัวบวมที่ควรลด ถ้าไม่อยากตัวบวมต้องรู้จักห้ามใจ!
1. อาหารแปรรูป
อาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตต่าง ๆ ได้แก่ ไส้กรอก หมูยอ ลูกชิ้น อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารเหล่านี้นั้นล้วนมีโซเดียมประกอบอยู่ ซึ่งก็มักที่จะมีปริมาณที่มาก ถ้าหากรับประทานเข้าไปเกินความจำเป็นของร่างกาย ก็อาจก่อให้เกิดโรคตามมาได้
2. เครื่องปรุงรส
ไม่ว่าจะเป็นเกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรส ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ ซอสมะเขือเทศ น้ำมันหอย กะปิ ผงปรุงรส/ซุปก้อน หรือผงชูรส อย่างที่เราสามารถคาดคะเนจากเครื่องปรุงรสที่มีรสเค็มนั้น ประกอบไปด้วยปริมาณ sodium ที่สูงปรี๊ดเลยละ
3. อาหารที่มาจากธรรมชาติบางชนิด
ในส่วนนี้หลายคนอาจจะคิดไม่ถึงว่าบางทีแล้วอาหารจากธรรมชาติก็มีโซเดียมในปริมาณที่ค่อนข้างสูงเหมือนกัน ซึ่ง sodium ที่ว่านั้นอาจจะไม่ใช่ที่อยู่ในตัวของอาหารนั้นตั้งแต่แรกอยู่แล้ว แต่อาจจะเป็นตัวที่เพิ่มเข้ามาในขั้นตอนของการผลิต เช่น กุ้งแช่แข็ง หรืออาหารทะเลแช่แข็ง หลายคนอาจจะไม่รู้ว่ากุ้งแช่แข็งมีการเติมเกลือเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติ และอาจจะมีการใส่สารกันบูดเพื่อทำให้อาหารไม่เน่าเสีย และในสารกันบูดมันก็มี sodium อยู่จำนวนหนึ่งเลยทีเดียว
4. อาหารประเภท Fast Food
อาหารอีกประเภทที่มีโซเดียมค่อนข้างสูงก็คืออาหารฟาสฟู๊ด เพราะส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นอาหารที่มีแป้ง มีน้ำตาล ไขมันและ ขาดไม่ได้เลยก็คือ sodium ในการปรุงรสหรือว่าในการผลิต เช่น พิซซ่าหนานุ่ม ถาดกลาง 1 ชิ้น มีจำนวนมากถึง 1,113 กรัม เป้นต้น
5. อาหารประเภทหมักดอง
เรียกได้ว่าดับฝันสาวกคนรักปลาร้าและมะม่วงดองเป็นอย่างมากเลยใช่ไหมล่ะคะ แต่ทุกคนรู้หรือไหมว่าอาหารหมักดองมีโซเดียมที่สูงมากๆ เลยล่ะ ยกตัวอย่างเช่น ขนาดแค่ผักกาดดองปริมาณ 100 กรัม มี sodium สูงถึง 1000 มก. เลยทีเดียว
วิธีลดบวมโซเดียม มีอะไรบ้าง ?
1. ดื่มน้ำในปริมาณที่มากเพียงพอ
การดื่มน้ำ นั้นดีต่อร่างกายทั้งในแง่ของสุขภาพและการดูแลรูปร่าง เพราะการดื่มน้ำนั้นเป็นการช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายนั่นเอง นอกจากนี้ยังควรดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ไม่น้อยจนเกินไปเพราะจะมีผลกระทบต่อระบบขับถ่ายของเราได้ ร่างกายจะทำการขับโซเดียมออกได้ไม่เต็มที่ โดยปริมาณน้ำที่ควรดื่มใน 1 วันจะอยู่ที่ 1.5 – 2 ลิตร และสำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่ออกกำลังกายก็อย่าลืมดื่มน้ำเพิ่มมากขึ้น
2. พักผ่อนให้เพียงพอ
ในข้อนี้ใครหลายคนอาจจะไม่เชื่อว่าการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอจนครบ 6 – 8 ชั่วโมงนั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากเลยค่ะ เพราะหากร่างกายมีการพักผ่อนที่เพียงพอ ระบบต่าง ๆ ก็จะทำงานได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างให้ร่างกายสามารถขับ sodium ออกไปได้ดีด้วย
3. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายนั้นนอกจากจะเป็นสิ่งที่หลายคนทำเพื่อการลดหุ่นแล้ว ยังเป็นสิ่งที่สามารถช่วยลดการบวมน้ำได้ดีอีกด้วยนะคะ เพราะว่าการออกกำลังกายนั้นจะช่วยให้ร่างกายของเราสามารถที่จะช่วยให้ระบบขับถ่ายของเราทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้นขึ้น
4. ลดการกินอาหารแปรรูปต่าง ๆ
แน่นอนว่าในอาหารแปรรูปนั้นมาพร้อมกับปริมาณโซเดียมที่สูงมาก ๆ มันจึงจำเป็นที่เราควรจะจำกัดปริมาณการกินในแต่ละวัน ซึ่งใน 1 วันคนทั่วไปควรบริโภค sodium ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมเท่านั้น
5. กินผักและผลไม้
เชื่อเถอะว่าการกินผักและผลไม้นั้นสามารถทำให้ระบบขับถ่ายของเราดีขึ้นได้จริง ๆ ซึ่งผักผลไม้ที่ช่วยในการลดบวมได้ดีก็คือชนิดที่มีน้ำอุดมอยู่ในปริมาณที่สูง อย่างเช่น แตงกวา สับปะรด กีวี และกล้วย เป็นต้นค่า ใครอยากจะลดอาการบวมน้ำก็ลองไปซื้อมาทานกันได้น๊า
เป็นยังไงกันบ้างคะสำหรับวิธีลดบวมโซเดียม ที่เราเอามาแชร์กันในครั้งนี้ หวังว่าเราจะสามารถช่วยให้สาว ๆ ลดอาการบวมน้ำจาก sodium ได้นะคะ แน่นอนละว่าของอร่อยก็มักจะมีเจ้าตัวปัญหานี้อยู่เสมอ แต่ถึงอย่างนั้นก็ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม และหมั่นออกกำลังกาย รวมไปถึงพักผ่อนให้เพียงพอด้วยนะคะ คอนเทนต์หน้าจะมีเกรร็ดความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ และการออกกำลังกาย อะไรมาคอยอัปเดตอีกบ้างนั้นสามารถติดตามได้ทาง workoutkan
- 5 สัญญาณเตือน ร่างกายขาดโปรตีน ตัวการลดน้ำหนักไม่ได้ผล - December 2, 2024
- แนะนำ 5 อาหารช่วยย่อย ทำงานได้ดีขึ้น มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร - November 25, 2024
- แนะนำ 6 อาหารกระตุ้นการเผาผลาญได้ดี ที่ได้รับความนิยม ในหมู่คนรักสุขภาพ - November 21, 2024