รู้หรือไม่!! “ออกกำลังกาย” แต่ทำไม “น้ำหนักไม่ลด”

ออกกำลังกาย
หัวข้อที่น่าสนใจ

หลายคนคงจะสงสัยว่าทำไม ออกกำลังกาย ทุกวัน คุมอาหารก็แล้ว แต่ทำไมน้ำหนักตัวไม่ลดลงตามสักที ทำเอาเครียดไปหลายวัน บางคนลงเร็วบ้าง ช้าบ้าง หรือแทบไม่ลงเลยก็ยังมี แต่รู้หรือไม่ว่ามันก็เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น กินของที่มีโปรตีนน้อย อาหารขยะ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มมีน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายได้รับแคลอรี่ ไขมัน และน้ำตาลมากกว่าปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายเผาผลาญออกไปได้เช่นกัน ดังนั้นไปสาเหตุกันว่ามาจากอะไร

ออกกำลังกายเท่าไรน้ำหนักก็ไม่ลด เป็นเพราะอะไร?

ออกกำลังกายเท่าไรน้ำหนักก็ไม่ลด
ลองสำรวจดูว่าตัวเองมีพฤติกรรมหรือปัจจัยเหล่านี้หรือไม่ เพราะแม้บางอย่างจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็อาจส่งผลต่อน้ำหนักได้

ลองสำรวจดูว่าตัวเองมีพฤติกรรมหรือปัจจัยเหล่านี้หรือไม่ เพราะแม้บางอย่างจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็อาจส่งผลต่อน้ำหนักได้อย่างไม่น่าเชื่อ หากมีพฤติกรรมเหล่านี้ให้หยุด!!

1. ทานมื้อดึกหลังออกกำลังกาย

ทานมื้อดึก
ตัวการสำคัญที่ทำให้ระบบเผาผลาญของเรานั้นทำงานไม่ได้เต็มที่

มื้อดึกใกล้เวลาเข้านอน หากใครกำลังทำสิ่งนี้อยู่ควรหยุด เพราะอาจส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกาย รวมไปถึงระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลินเพิ่มสูงขึ้น และขอบอกว่าเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ระบบเผาผลาญของเรานั้นทำงานไม่ได้เต็มที่ ดังนั้นจึงควรกินอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนนอน

2. กินโปรตีนไม่เพียงพอ

กินโปรตีนไม่เพียงพอ
หลายคนอาจกินอาหารที่มีโปรตีนไม่เพียงพอต่อร่างกายเลยทำให้ออกกำลังกายเท่าไหร่น้ำหนักก็ไม่ลด

เนื่องจากร่างกายของเรานั้นต้องการโปรตีนเพื่อไปสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และหลายคนอาจกินอาหารที่มีโปรตีนไม่เพียงพอต่อร่างกายเลยทำให้ออกกำลังกายเท่าไหร่น้ำหนักก็ไม่ลดนั่นเอง เนื่องจากการรับประทานของที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมันไม่ติดหนัง ปลา พืชตระกูลถั่ว เมล็ดพืช อาจช่วยลดความอยาก ลดมวลไขมัน เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งส่งผลดีต่อการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ช่วยทำให้น้ำหนักลดลงได้

3. ไม่ลดอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต

ไม่ลดอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต
หากไม่จำกัดปริมาณการรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวที่น้ำตาลสูงอาจทำให้น้ำหนักขึ้นได้

เพราะจำเป็นต่อร่างกายของเรา เพื่อใช้เป็นพลังงานในการใช้ทำกิจกรรมระหว่างวัน หากไม่จำกัดปริมาณการรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวที่น้ำตาลสูง เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาวก็อาจส่งผลให้น้ำหนักขึ้นได้ เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาวก็อาจส่งผลให้น้ำหนักขึ้นได้เพราะมีปริมาณและน้ำตาลสูงนั่นเองค่ะ จึงควรเลือกประเภทของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนมีใยอาหารสูง และน้ำตาลน้อย เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ด ข้าวไม่ขัดสี ผักและผลไม้ พืชตระกูลถั่ว เมล็ดพืช เพื่อช่วยให้อิ่มนานขึ้นและช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ยิ่งออกกำลังกายร่วมด้วยจะเห็นผลได้อย่างชัดเจน

4. กินอาหารที่มีแคลอรี่มากเกินไป และออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ

กินอาหารที่มีแคลอรี่มากเกินไป
กินอาหารที่มีแคลอรี่มากเกินไป และออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ

สำหรับใครต้องการจะลดน้ำหนักอย่างแท้จริง ควรเลือกแต่ของมีประโยชน์และปริมาณแคลอรี่ต่ำๆ จะช่วยในเรื่องการลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี เช่น อาหารคลีน เพราะหากทานจำพวกแคลอรี่สูงเกินไปและร่างกายไม่สามารถเผาผลาญได้หมด อาจสะสมเป็นไขมันทำให้น้ำหนักขึ้นได้ โดยควรได้รับพลังงานไม่น้อยกว่า 1,600-1,800 กิโลแคลอรี่ และไม่เกิน 2,000 แคลอรี่/วัน

5. ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล หรือน้ำอัดลม

ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล หรือน้ำอัดลม
ควรงดปริมาณลงหรืองดไปเลยจะยิ่งดี ปริมาณน้ำตาลที่สูงอาจส่งผลทำให้เกิดการสะสมไขมันในร่างกาย

เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงๆ เช่น น้ำอัดลม นมรสหวาน น้ำผลไม้ผสมน้ำตาล อาจเป็นปัจจัยเพิ่มน้ำหนักตัวได้ง่าย ๆ ควรงดปริมาณลงหรืองดไปเลยจะยิ่งดี ปริมาณน้ำตาลที่สูงอาจส่งผลทำให้เกิดการสะสมไขมันในร่างกาย เพราะหากมีปริมาณมากเกินไปจะไม่ถูกนำไปใช้เป็นพลังงาน แต่จะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นไขมันสะสมใต้ชั้นผิวหนัง จนทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น

6. ดื่มน้ำน้อย

ดื่มน้ำน้อย
การดื่มน้ำไม่เพียงพอเท่ากับร่างกายของเราต้องการ อาจทำให้ผิวแห้ง ไตทำงานหนักขึ้น

การดื่มน้ำไม่เพียงพอเท่ากับร่างกายของเราต้องการ อาจทำให้ผิวแห้ง ไตทำงานหนักขึ้น ปัสสาวะสีเข้ม เพิ่มโอกาสติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่างได้ง่าย โรคนิ่ว เป็นต้น ดังนั้นก่อนกินข้าวควรดื่มน้ำก่อนอย่างน้อย 1 แก้ว เพราะสามารถช่วยทำให้ทานอาหารได้น้อยลง ทำให้อิ่มเร็วขึ้นอาจช่วยเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี่ที่มากขึ้น เช่นหลังออกกำลังกายควรดื่มน้ำอย่างน้อย 1 แก้ว เนื่องจากน้ำอาจเพิ่มการใช้พลังงานงานในร่างกายมากขึ้น

7. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
หากดื่มมากเกินไปร่วมกับการทานของพวกแคลอรี่สูงเช่นกันอาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินความต้องการในแต่ละวัน และอาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้

หลายคนอาจทราบว่าการดื่มแอลกอฮอล์นั้นทำให้อ้วนได้ เพราะบางชนิดนั้นมี ปริมาณแคลอรี่สูง เช่น เหล้าผลไม้ สุรากลั่น ไวน์ เบียร์ หากดื่มมากเกินไปร่วมกับการทานของพวกแคลอรี่สูงเช่นกันอาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินความต้องการในแต่ละวัน และอาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้

8. กินอาหารขยะ หรือของจุกจิก

อาหารขยะ
การกินของที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยมาก อาจเพิ่มการสะสมของสารพิษในร่างกาย

การกินของที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยมาก อาจเพิ่มการสะสมของสารพิษในร่างกาย เพราะอาหารขยะเต็มไปด้วยแป้ง น้ำตาล ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และโซเดียม ในปริมาณมาก มีส่วนทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้นอาจส่งผลต่อการสะสมของไขมันและการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว ถึงแม้เราจะ ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอก็ตาม

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ workoutkan

sponsor by www.essexinfo.net