ปัจจุบัน Real size Beauty กำลังมาแรง เพราะทุกคนต่างสวยหล่อในแบบฉบับของตัวเอง ไม่ว่าจะผอม อ้วนขาแตกลาย มีฝ้า ก็ต่างเป็นความสวยงามตามธรรมชาติ แต่ก็ต้องควบคู่มากับการดูแลตัวเองเป็นสิ่งสำคัญให้อยู่บนพื้นฐานของการมีสุขภาพที่ดี ซึ่งต้องเข้าใจว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานนั้นมีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคอ้วน จึงทำให้หลายคนมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตัวเอง ดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดีขึ้นเสมอ จึงทำให้ผู้คนหันมาออกกำลังกันมากขึ้น เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น ดังนั้นวันนี้ เราจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับ ภาวะอ้วน กันก่อนดีกว่าว่าคืออะไร เพื่อทำให้ทุกคนตระหนักถึงสุขภาพร่างกายที่ดีมากยิ่งขึ้น
โรคอ้วน คืออะไร
โรคอ้วน เกิดจาก ภาวะที่ร่างกายของคนเรานั้นมีการสะสมไขมันมากกว่าปกติ หรือมากกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญ จนทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ รวมถึงทำให้มีปัญหาสุขภาพตามมา อาทิ เหนื่อยง่าย นอนกรน หรือแม้แต่การหายใจติดขัด อีกทั้งอาจจะส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันพกตับ เป็นต้น ซึ่งมีวิธีวัดไขมันหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กันก็คือ การวัดจากดัชนีมวลกาย (BMI) [ค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร) / ส่วนสูง (เมตร)]
อาการของภาวะอ้วน
สำหรับผู้ที่มีภาวะอ้วน หมายถึง ผู้ที่มีไขมันมันส่วนเกินสะสมในร่างกายในปริมาณที่มาก ส่งผลให้ เหนื่อยง่าย ร้อนง่าย เหงื่อออกง่าย จนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา รวมถึงทำให้เกิดการไม่มั่นใจในตัวเอง นำมาซึ่งปัญหาสุขภาพจิตอย่างภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย
จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็น “โรคอ้วน”
โดยการวัดดัชนีมวยกาย หรือ Body Mass Index – BMI และการตรวจวัดรอบเอว โดยทั่วไปแล้ว ควรมีค่า BMI อยู่ที่ระหว่าง 18.5-22.9 kg/m2 หากมากหรือน้อยกว่านี้ จะเกิดภาวะทุพโภชนาการและโรคต่างๆ
- ค่า BMI < 5 – 22.9 kg/m² เรียกว่า “ปกติ”
- ค่า BMI 0 – 24.9 kg/m² เรียกว่า “น้ำหนักเกิน”
- ค่า BMI > 25 kg/m² เรียกว่า “โรคอ้วน”
สาเหตุและผลกระทบของ โรคอ้วน
- ได้รับพลังงานจากอาหารมากเกินไป เช่น อาหารจำพวกแป้ง ของทอด ของดอง เป็นต้น
- ความเสี่ยงทางพันธุกรรม
- การขาดการออกกำลังกาย
ผลกระทบ มีอะไรบ้าง
- ทำให้เกิดอาการปวดหลัง เหนื่อยง่าย ข้อเข่าเสื่อม โรคกระดูก
- ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจาก โรคอ้วน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง โรคหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะมีบุตรยาก ประจำเดือนมาไม่ปกติ โรคผิวหนัง เช่น สิว มีกลิ่นตัว ขนดก เป็นต้น
- ทำให้ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเดินการทำกิจกรรมต่าง ๆ ประจำวัน
โรคอ้วน มีกี่ประเภท
สำหรับ โรคอ้วน นั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ อ้วนลงพุง และอ้วนทั้งตัว โดยที่การอ้วนลงพุง เกิดจากการที่ใช้ชีวิตที่ไม่สมดุล เริ่มจากอาหาร การไม่มีเวลาออกกำลังกาย หรือเผาผลาญไขมันส่วนเกิน ส่งผลให้กลายเป็นโรคอ้วนตามมานั่นเอง ซึ่งคนที่อ้วนลงพุงนั้นก็มักจะมีไขมันสะสมที่ช่องท้องมากเกินไป ทำให้เกิดเมตาบอลิกซินโดรม และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น
ส่วนคนที่ อ้วนทั้งตัว คือ การที่มีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติ ไม่ได้จำกัดตำแหน่งว่าจะอ้วนเฉพาะแค่พุง แก้ม หรือ ขา เป็นต้น
โรคอ้วน ป้องกัน ได้อย่างไรบ้าง
และแล้วก็มาถึงจุดที่หลาย ๆ คนกำลังสงสัยและต้องการที่จะรู้ก็คือ วิธีการป้องการ หรือ วิธีการลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิด ภาวะอ้วน ตามมา ต้องบอกเลยว่า คนที่มีน้ำหนักขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตที่ไม่สมดุล เช่น บางคนอาจจะชอบทานของทอดมาก สามารถรับประทานได้ทุกวัน แต่ไม่ชอบออกกำลังกาย ไม่ชอบขยับตัวไปไหน พฤติกรรมเช่นนี้ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการเผาผลาญไขมันนั่นเองส่งผลให้เกิดโรคอ้วนได้
ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันภาวะอ้วนก็คือ การควบคุมอาหารและพฤติกรรมการกิน การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผักผลไม้ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง อาทิ ของทอด ของดอง ชานมไข่มุก เป็นต้น ให้ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อความต่อการของร่างกาย หรือดื่มแทนน้ำอัดลม และที่สำหรับอย่าลืมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากปรับสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ก็จะทำให้ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี และทำให่มีสุขภาพที่ดีตามมาอย่างแน่นอนค่ะ
บทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม
- ขนมกินแล้วไม่อ้วน กินได้ไม่รู้สึกผิด เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มลดน้ำหนัก - December 2, 2022
- คาร์ดิโอ คืออะไร พร้อมเผย 5 ท่า เผาผลาญแคลอรี ทำเองง่ายได้ที่บ้าน - November 22, 2022
- โยคะ เบื้องต้นเพื่อสุขภาพที่ดี เหมาะสำหรับผู้เล่นมือใหม่ - November 15, 2022